โรคผมและหนังศีรษะ

โดยแพทย์ผู้เชี่ยาชาญมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ในการรักษาโรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ที่เน้นความโดดเด่นในการ
รักษาโรคผม เล็บ ผิวหนัง โดยเฉพาะ

ความผิดปกติของผมที่เป็นเรื่องวิตกกังวลและมักจะได้ยินเสียงบ่นจากผู้คนจำนวนมาก ได้แก่ ผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน ก่อนที่จะกล่าวถึงความผิดปกติในเรื่องนี้ คงต้องมาให้คำนิยามก่อน

อาการ

ผมร่วง

เมื่อเส้นผมเริ่มงอกออกจากหนังศีรษะ จะมีอายุโดยเฉลี่ย 3 ปี เมื่อหมดอายุแล้วเส้นผมจะหลุดร่วงจากหนังศีรษะ หลังจากนั้นจะมีเส้นผมงอกขึ้นมาใหม่จากรากผมเดิม ดังนั้นการที่มีผมร่วงจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคน แต่ก็มีบางคนที่เกิดอาการผมร่วงผิดปกติได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

ผมบาง

เส้นผมบนหนังศีรษะมีความหนาแน่นน้อยลง หรือเส้นบางลง จนเห็นหนังศีรษะ โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากผมร่วงผิดปกติ

ศีรษะล้าน

หนังศีรษะไม่มีเส้นผมเหลืออยู่ หรือมีเส้นผมน้อยมาก อาจเกิดจากผมร่วงผิดปกติ หรือผมบางลงอย่างรุนแรง

การปลูกถ่ายเส้นผมในปัจจุบัน

มีวิธีการหลักๆ 2 วิธี คือ

เมื่อไรถึงถือว่าผมร่วงผิดปกติ

เส้นผม คือ ใยโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากต่อมผมของผิวหนัง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เคอราตินอย่างแข็ง (hard keratin) เนื่องจากต่อมผมไม่ได้สร้างเส้นผมอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่สิ้นสุด เมื่อเส้นผมงอกไปจนมีความยาวได้ขนาดหนึ่งต่อมผมก็จะหยุดสร้างเส้นผม แล้วเส้นผมก็จะหลุดร่วงไป จากนั้นจะมีเส้นผมงอกขึ้นมาใหม่ที่ต่อมผมเดิม ดังนั้นเราทุกคนหนีไม่พ้นที่ผมจะหลุดร่วงไปเป็นธรรมดา เนื่องจากเรามีเส้นผมอยู่ถึงประมาณ 100,000 เส้น เราจึงไม่ค่อยรู้สึกกับการหลุดร่วงของเส้นผมในแต่ละวัน ซึ่งตามปกติอาจจะร่วงได้ถึงวันละ 100 เส้น ดังนั้นถ้าท่านมีอาการผมร่วงแต่ไม่ถึงวันละ 100 เส้น ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลเพราะยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแต่ว่าผมที่ร่วงนั้นหลุดมาจากบริเวณเดียวกันของหนังศีรษะจนเห็นศีรษะล้านเป็นหย่อม ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

เมื่อไรถึงถือว่าผมร่วงผิดปกติ

สาเหตุของผมร่วงแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม คือ โรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ สำหรับโรคติดเชื้อสำคัญที่ทำให้ผมร่วง ได้แก่ โรคเชื้อรา และโรคซิฟิลิส ส่วนกลุ่มโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของผมร่วงที่พบบ่อยได้แก่ ผมบางแบบพันธุกรรม ผมร่วงหลังไข้และหลังคลอด โรคผมร่วงหย่อม และโรคชอบถอนผม
ผมร่วงในกลุ่มโรคติดเชื้อนี้มีความสำคัญ ต้องทำการวินิจฉัยให้ได้ถูกต้อง เพราะหากให้ยาฆ่าเชื้อตรงตามสาเหตุแล้ว ผู้ป่วยจะหายจากโรคได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

2 สาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง

1. เชื้อราที่หนังศีรษะ (tinea capitis)

หมายถึงโรคติดเชื้อรา dermatophyte ที่หนังศีรษะและเส้นผม
สาเหตุ
เชื้อรากลุ่มที่ทำให้เกิดโรคที่เส้นผม ได้แก่ Microsporum spp. และ Trichophyton spp.
อาการและอาการแสดง
โรคนี้พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ลักษณะทางคลินิกของโรคเชื้อราที่หนังศีรษะมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย บางรายอาจจะไม่มีอาการหรือมีอาการคัน อาการแสดงบางรายอาจมีผิวหนังอักเสบเล็กน้อย เป็นผื่นแดงมีขุย
การรักษา
โรคผมร่วงจากเชื้อรารักษาได้โดยการรับประทานยาต้านเชื้อรา ซึ่งต้องรับประทาน 1-2 เดือน เป็นอย่างน้อย

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง

ผมบางชนิดนี้เป็นปัญหาผมบางจนถึงศีรษะล้านที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากเส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่ในแต่ละรอบนั้นมีขนาดเล็กลง จนกลายเป็นเส้นขน ทำให้ความหนาแน่นของเส้นผมลดลงจนผมบาง และอาจเป็นมากจนศีรษะล้าน มักจะเป็นกลุ่มที่แสวงหาการรักษามากที่สุด แม้ว่าผมบางหรือศีรษะล้านชนิดนี้จะไม่มีผลต่อสุขภาพทางกาย แต่ทำให้เสียบุคลิกภาพได้มาก
สาเหตุ
ปัจจัยที่ทำให้ผมบางลงที่สำคัญ คือ เชื้อพันธุ์ ฮอร์โมนเพศชาย และอายุ
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่มักจะเริ่มผมบางในวัยกลางคนโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ อาการแสดงในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกัน

3. ผมร่วงหลังไข้และหลังคลอด (telogen effluvium)

ผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่มีไข้สูงอาจจะเกิดอาการผมร่วงจนผมบางลงมาก ที่คนโบราณเรียกว่า ไข้หัวโกร๋น ภาวะผมบางแบบนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงหลังคลอดเช่นกัน
สาเหตุ
ในภาวะที่ร่างกายมีความเครียด เช่น ภายหลังจากเป็นไข้สูง ไม่ว่าจะเป็น ไข้ไทฟอยด์ ไข้มาเลเรีย ไข้เลือดออก และอื่น ๆ รวมทั้งหลังคลอด 2-3 เดือน เส้นผมที่อยู่ในภาวะเจริญเติบโต (anagen hair) ซึ่งปกติมีประมาณ 90% จะหยุดการเจริญเติบโตจนเหลือเพียง 60-70% หรือกล่าวอีกอย่างว่ามีเส้นผมที่หยุดการเจริญเติบโตและพร้อมจะร่วงไป (telogen hair) อยู่ประมาณ 30-40% ซึ่งผมในระยะนี้จะมีอายุประมาณ 3 เดือนแล้วหลุดร่วงไป
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงที่พบจะมีผมบางทั่วไปทั้งศีรษะโดยที่หนังศีรษะดูปกติ ตัวอย่างที่พบบ่อยได้แก่ ผมร่วงในผู้หญิงหลังคลอดหรือผู้ป่วยหลังไข้ มีลักษณะเหมือนกัน (ดังรูปที่ 20) ผู้ป่วยจะมีผมร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น แต่ผมมักจะร่วงไม่เกิน 40% ของทั้งหมด หลังจากผมร่วงหยุดแล้ว ปริมาณผมที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตจะกลับเข้าสู่ปกติหรือมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90%

รังแค

รังแคเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดของหนังศีรษะ โดยปกติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ผิวหนังจะมีการแบ่งตัวจากเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง และค่อย ๆ เคลื่อนไปยังชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วค่อย ๆ ผลัดหลุดไป ในคนปกติใช้เวลาประมาณ 28 วัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคนั้นวงจรนี้จะเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังปริมาณมากจนมองเห็นเป็นแผ่นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นรังแคหนังศีรษะจะดูปกติ แต่หากพบรังแคร่วมกับมีการอักเสบของหนังศีรษะอาจเป็นอาการแสดงของโรคผิวหนังบางโรค ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบ Seborrheic Dermatitis ซึ่งนอกจากพบมีผื่นแดง และมีสะเก็ดลอกบริเวณหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถพบผื่นบริเวณข้างจมูก คิ้ว หลังหูได้อีกด้วย หรือ การแพ้สารเคมีที่สัมผัสหนังศีรษะ เช่น แพ้น้ำยาย้อมผมก็สามารถทำให้เกิดอักเสบของหนังศีรษะได้ โรคผิวหนังอีกโรค ที่มีสะเก็ดหลุดลอกบริเวณหนังศีรษะ คือ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) โดยอาจพบรอยโรคบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ร่วมกับมีความผิดปกติของเล็บมือเล็บเท้า และอาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย

สาเหตุของรังแค เกิดจากหลายปัจจัย

จากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา บนหนังศีรษะ ซึ่งจะกระตุ้นให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราชนิดนี้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากความเครียด อดนอน พักผ่อนน้อย ปกติแล้วในคนทั่วไป ก็มีเชื้อราตัวนี้อยู่ แต่ปริมาณจะไม่มากเท่ากับคนไข้ซึ่งมีปัญหาเรื่องหนังศีรษะอักเสบ ซึ่งปริมาณของเชื้อราจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกปัจจัยคือ ในผู้ที่มีภาวะผิวแห้ง หนังศีรษะก็จะแห้งกว่าคนผิวปกติ และอาจจะมีปัจจัยกระตุ้นที่มาเสริมให้แห้งขึ้น เช่น มีการใช้แชมพูที่ผิดประเภท การโดนสารเคมีจากการดัดผม ย้อมผม ยืดผมบ่อย ๆ