เล็บขบ

โดยแพทย์ผู้เชี่ยาชาญมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ในการรักษาโรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ที่เน้นความโดดเด่นในการ
รักษาโรคผม เล็บ ผิวหนัง โดยเฉพาะ

โรคเล็บขบ

เล็บขบ (Ingrowing nail) เป็นโรคเล็บที่พบได้บ่อย คนไข้มักจะมาด้วยอาการอักเสบบวมแดงรอบๆขอบเล็บร่วมกับมีอาการปวด ในบางรายอาจมีหนองซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เล็บขบนั้นสามารถเกิดได้ทั้งในเล็บมือและเล็บเท้า แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเกิดขึ้นในเล็บเท้ามากกว่า

กำลังมองหา คลินิกที่ รักษาโรคเล็บขบ?
SEVEN PLUS CLINIC
มีบริการ ปรึกษาเรื่องโรคเล็บขบ โดย แพทย์เฉพาะทาง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเล็บขบ

สาเหตุที่ทำให้เกิดเล็บขบเป็นได้หลายปัจจัย ได้แก่

  • การใส่รองเท้าที่ปิดกดทับบริเวณเล็บเท้า
  • การตัดเล็บนิ้วเท้าจนสั้นเกินไป
  • การเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเล็บเท้า
  • การมีเล็บเท้าที่มีรูปร่างโค้งผิดปกติ
  • การติดเชื้อบริเวณเล็บ
  • อาการเจ็บป่วยอื่นๆ

 

เมื่อพบว่ามีอาการอักเสบบวมแดงร่วมกับปวดบริเวณเล็บขบ

เมื่อพบว่ามีอาการอักเสบบวมแดงร่วมกับปวดบริเวณเล็บขบ ก็สามารถมาพบคุณหมอได้แล้วค่ะ ซึ่งในระยะแรกคุณหมออาจจะให้ทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าในรายที่เป็นมาก คือมีอาการบวมแดงมาก ปวดมาก มีหนองไหล พบก้อนเนื้อบริเวณด้านข้างเล็บ หรือมีการกลับเป็นซ้ำบ่อย ทางคลินิกของเรามีบริการในส่วนของการผ่าตัดรักษาโดยจะถอดเล็บเพียงบางส่วนเฉพาะบริเวณที่ขบออก ร่วมกับการรักษาบริเวณโคนเล็บเพื่อทำให้เล็บส่วนเกินบริเวณนั้นไม่งอกขึ้นมาอีก ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีและไม่ทำให้กลับเป็นซ้ำอีกคะ

ภาวะแทรกซ้อน

การเกิดเล็บขบจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวจะมีภาวะการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติโดยสามารถส่งผลกระทบต่อการทำลายเส้นประสาทเท้าได้ ดังนั้นบุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน หากมีอาการบาดเจ็บบริเวณเท้าเพียงเล็กน้อย จากแผลถูกบาด ขูด หรืออื่นๆ จะพบว่าอาการไม่สามารถบรรเทาเองได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อ

การป้องกันการเกิดเล็บขบ

การป้องกันการเกิดเล็บขบเน้นที่การดูแลรักษาเล็บและมืออย่างถูกวิธี นี่คือบางแนวทางที่สามารถช่วยป้องกันเล็บขบ

1. การตัดเล็บเท้าควรตัดให้เป็นแนวตรง

หลีกเลี่ยงการตัดเป็นรูปแบบโค้งตามสัดส่วนรูปร่างของหัวนิ้วเท้า สำหรับคนไข้ที่มีภาวะการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ไม่สามารถทำการตัดเล็บได้ด้วยตนเอง ควรพบแพทย์รักษาเท้าเพื่อทำการตัดเล็บอย่างสม่ำเสมอ

2. การไว้เล็บเท้าให้ยาวพอดี

ตัดเล็บนิ้วเท้าให้มีความยาวเท่ากัน และไม่สั้นจนเกินไป เนื่องจากการตัดเล็บเท้าที่สั้นเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดทับจากรองเท้ามายังบริเวณนิ้วเท้ามากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดติ่งเนื้อได้

3. ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี

การสวมรองเท้าที่แน่นจนเกินไป จะทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณนิ้วเท้าจนทำให้เกิดเนื้อเยื่ออักเสบบริเวณเล็บ ทั้งนี้คนไข้ที่สูญเสียประสาทสัมผัสบริเวณเส้นประสาทเท้าอาจไม่สามารถรับรู้ได้หากรองเท้าที่ใส่แน่นจนเกินไป

4. ใส่รองเท้าที่มีคุณสมบัติในการปกป้องเท้า

หรือรองเท้านิรภัยเมื่อทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเท้าได้ เช่น การใช้รองเท้าหัวเหล็ก

5. หมั่นตรวจหาอาการเล็บขบ

หากคนไข้ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรหมั่นทำการตรวจหาอาการเล็บขบหรืออาการติดเชื้อที่เท้าอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์

คนไข้ควรเข้ารับการรักษาหากมีอาการระคายเคือง เจ็บ บริเวณเล็บนิ้วเท้า มีหนอง หรือเกิดการกระจายตัวของภาวะผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการอื่นๆที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณเท้าผิดปกติ รวมถึงคนไข้ที่มีอาการเจ็บเท้าหรือเท้าอักเสบควรเข้ารับการรักษาเช่นเดียวกัน